ย - ไหว้พระเชียงใหม่ 2 วัน 9 + 1วัด
วัดป่าดาราภิรมย์ - วัดพระพุทธบาทสี่รอย กราบนมัสการรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์ - วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน (12 ราศี)
วัดพระธาตุดอยสุเทพ (ปีมะแม) - วัดเจ็ดยอด (ปีมะเส็ง งูเล็ก) - วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ปีมะโรง) - วัดเกตุการาม (ปีจอ)
วัดเจดีย์หลวง - วัดชัยมงคล - วัดศรีสุพรรณ - ตลาดวนัสนันท์
วัดพระธาตุดอยสุเทพ (ปีมะแม) - วัดเจ็ดยอด (ปีมะเส็ง งูเล็ก) - วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ปีมะโรง) - วัดเกตุการาม (ปีจอ)
วัดเจดีย์หลวง - วัดชัยมงคล - วัดศรีสุพรรณ - ตลาดวนัสนันท์
บริการด้วยรถยนต์นั่งติดแอร์พร้อมคนขับเป็นกันเอง ราคา 2 วัน รวมค่ารถพร้อมคนขับ และน้ำมันแล้ว 6000 บาท สนใจติดต่อ พงศ์ศักดิ์ 081 617 2116
แนะนำเป็นพิเศษสำหรับ คนที่มีปีเกิดตรงกับ ปีชง2556
ได้แก่คนที่เกิดในปีนักษัตร 4 ปีนี้ กุน มะเส็ง ขาล วอก
แนะนำเป็นพิเศษสำหรับ คนที่มีปีเกิดตรงกับ ปีชง2556
ได้แก่คนที่เกิดในปีนักษัตร 4 ปีนี้ กุน มะเส็ง ขาล วอก
หมายเหตุ พระพุทธบาทสี่รอย... และที่สำคัญที่สุด ก็คือการที่หลวงพ่ออุตตมะได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า
“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงเหยียบไว้เองจริงๆนะ..!!!!!” ...พระผู้ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานแห่งยุคก็ยังได้เคยพยากรณ์ไว้ “พระบาทสี่รอยนี้เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบรอยพระบาทไว้เองจริงๆ....”
|
ที่ตั้ง
"พระพุทธบาทสี่รอย" แห่งวัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
ประวัติและที่มาของวัด พระพุทธบาทสี่รอย
เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจาริกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจันตประเทศ ( ประเทศไทยปัจจุบัน ) จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศชื่อ เขาเวภารบรรพตซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก 500 องค์และได้ แวะฉันจังหันอยู่บนเขาเวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จขณะประทับอยู่ที่นั้นก็ได้ทราบด้วยญาณ สมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ได้มีรอย พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินใหญ่ คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระ พุทธบาทแห่งพระ พุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ พระพุทธเจ้ากัสสปะ อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นประธาน เมื่อเห็นเช่นนี้จึงทูลถามว่าพระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด
พระพุทธองค์ตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลายสถานที่แห่งนี้ แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ที่ ล่วงมาแล้วในอดีตกาล ก็มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ทุกๆพระองค์ และแม้นว่าพระศรีอาริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ และ จักรประทับรอยพระบาทสี่รอยนี้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ( คือ ประทับลบทั้งสี่รอยให้เหลือรอยเดียว ) เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลายเสร็จแล้วพระ องค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ จึงมีรอยพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์จึงกําเนิดเป็นพระ พุทธบาทสี่รอย เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาท ของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิฐานว่า ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนําเอาพระ ธาตุของกูตถาคมมาบรรจุไว้ที่รอยพระบาทที่นี่
พระพุทธรูป พุทธศิลป์แบบศิลปะล้านนาในพระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทสี่รอย จ. เชียงใหม่
ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้ว 2,000 ปี พระพุทธบาทสี่รอยนี้ก็จักปรากฏแก่ปวงคนและเทวดาทั้งหลาย ก็จักได้มาไหว้และบูชา เมื่อทรงอธิฐานและทํานายไว้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จไป เชตวันอารามอันมีในเมืองสาวัตถีวันนั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงนิพพานไปแล้วเทวดาทั้งหลายก็นําเอาพระธาตุของพระ พุทธองค์มาบรรจุไว้ที่พระพุทธ บาทสี่รอยเมื่อพระพุทธองค์นิพพานล่วงแล้วประมาณ 2,000 วัสสา เทวดาทั้งหลายต้องการอยากให้พระพุทธบาทสี่รอยปรากฏแก่คนทั้งหลายตามที่พระ พุทธองค์ทรงอธิฐานไว้ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้งตัวใหญ่ ( เหยี่ยว ) ก็บินลงจากภูเขาเวภารบรรพตอันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้ เพื่อบินลงไป เอาลูกไก่ชาวบ้าน ( คนป่า )ที่อยู่ตีนเขาเวภารบรรพต แล้วก็บินกลับขึ้นไปอยู่ยอดเขา มันก็โกรธมากจึงตามขึ้นไปคิดว่าจะยิงเสียให้ตาย มันก็ติดตามไป ค้นหาดูแต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้นอีก แต่เห็นรอยพระพุทธบาทสี่รอยอันอยู่พื้นต้นไม้และเถาวัลย์ พรานป่าผู้นั้นก็ทําการสักการะบูชา เสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่ บ้านก็เล่าบอกแก่ชาวบ้านทั้งหลายฟังความอันนั้นก็ปรากฏสืบๆกันไปแรกแต่นั้น ไปคนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชามาก แต่นั้นมา จึงได้ชื่อว่า พระบาทรังรุ้ง ( รังเหยี่ยว ) ในสมัยนั้นมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่าพระยาเม็งราย เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ ได้ทราบข่าวจึงมีพระราช ศรัทธาอยากเสด็จขึ้นไปกราบบูชาพระพุทธบาทสี่รอยก็นําเอาราชเทวีและเสนาพร้อม กับบริวารทั้งหลาย เมื่อพระยาเม็งรายกราบนมัสการเสร็จแล้ว ก็นําเอาบริวารของตนกลับมาสู้ เมืองเชียงใหม่ ก็ตั้งอยู่เสวยราชมบัติตราบเมี้ยนอายุขัยแล้ว ก็เจริญตามรอยและได้ขึ้นมากราบพระพุทธบาท
ภายในวิหารที่มีรอยพระบาท
รอยพระบาท ของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ในภัทรกัลป์นี้
ทั้งสี่รอย ทุกๆพระองค์ หลังจากนั้นมาพระบาทรังรุ้งหรือรังเหยี่ยวก็เปลี่ยนชื่อเป็น" พระพุทธบาทสี่รอย " เพราะมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึงสี่รอย คือมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ที่ล่วงลับมาแล้วในภัทร กัลป์นี้ คือ รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ รอยแรกเป็นรอย ใหญ่ยาว 12 ศอก รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ 2 ยาว 9 ศอก รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะเป็นรอยที่ 3 ยาว 7 ศอก รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ ( ศาสนาปัจจุบัน ) เป็นรอยที่ 4 รอยเล็กที่สุด ยาว 4 ศอก เมื่อมาถึงสมัยพระยาธรรมช้างเผือกผู้ครองนคร เชียงใหม่ พร้อมด้วยบริวาร 500 คนก็ขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระพุทธบาทสี่รอย และได้สร้างวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราว
พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทสี่รอย จ. เชียงใหม่
โดยแต่เดิมถ้า ใครจะดูรอยพระพุทธบาทบนยอดหินก้อนใหญ่ ต้องใช้บันไดพาดขึ้นไปหรือปีนขึ้นไปดูซึ่งก็คงจะขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ดังนั้น พระยาธรรมช้างเผือก จึงตรัสสร้างแท่นยืนคล้ายๆนั่งร้านรอบๆก้อนหินที่มีพระ พุทธบาทสี่รอยและได้สร้างหลังคาชั่วคราวมุงไว้ ต่อมาในสมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีก็ได้ขึ้นไป กราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและได้มีพระราชศรัทธา ก่อสร้างวิหารเป็นการกราบบูชารอยพระพุทธบาทไว้หนึ่งหลัง หลังเล็กปัจจุบันได้บูรณะปฏิสัง ขรณ์แล้วทั้งหลัง พอมาสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2472 ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย และได้รื้อพระวิหารที่เจ้า พระยาธรรมช้างเผือกสร้างไว้ชั่วคราว และได้สรางพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ใหม่ และได้ฉาบปูนครอบรอยพระพุทธบาทสี่รอย พระพุทธบาทสี่รอยนี้เป็นพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
ขอขอบคุณข้อมูลรูปจาก golfreeze[at]packetlove.com
เดินทางวันที่ 1
ช่วงเช้า รถรับที่สนามบิน หรือที่อื่นๆในตัวเมืองเชียงใหม่
แวะนมัสการ วัดป่าดาราภิรมย์พระอารามหลวง ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี / จากนั้นแวะชมฟาร์มกล้วยไม้
จากนั้นเดินทางไป กราบนมัสการรอยพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันมาช้านาน
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของรอยพระพุทธบาท ผู้คนที่เข้ามากราบไว้บูชามักประสบโชคลาภ บรรลุเป้าหมายตามที่ใจปรารถนา
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. เดินทางไปนมัสการวัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน (12 ราศี) ที่อำเภอแม่แตง
เป็นวัดที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของเมืองเชียงใหม่ในตอนนี้ และ ไม่ว่าใครที่ได้เห็น
เป็นต้องหลงเสน่ห์ความงามของวัดแห่งนี้อย่างแน่นอน17.00 น. กลับโรงแรมในตัวเมืองเชียงใหม่
แวะนมัสการ วัดป่าดาราภิรมย์พระอารามหลวง ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี / จากนั้นแวะชมฟาร์มกล้วยไม้
จากนั้นเดินทางไป กราบนมัสการรอยพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันมาช้านาน
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของรอยพระพุทธบาท ผู้คนที่เข้ามากราบไว้บูชามักประสบโชคลาภ บรรลุเป้าหมายตามที่ใจปรารถนา
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. เดินทางไปนมัสการวัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน (12 ราศี) ที่อำเภอแม่แตง
เป็นวัดที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของเมืองเชียงใหม่ในตอนนี้ และ ไม่ว่าใครที่ได้เห็น
เป็นต้องหลงเสน่ห์ความงามของวัดแห่งนี้อย่างแน่นอน17.00 น. กลับโรงแรมในตัวเมืองเชียงใหม่
เดินทางวันที่ 2
08.30 น. รับประทานอาหารเช้า และเช็คเอาท์จากที่พัก
นมัสการ วัดพระธาตุดอยสุเทพ (ปีมะแม) และบรมธาตุดอยสุเทพเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่
และล้านนาไทยมาเป็นเวลานาน จนมีคำกล่าวว่า "หากมาเชียงใหม่ แล้ว ไม่ได้ขึ้นดอยสุเทพ ก็เหมือนกับว่ามาไม่ถึงเชียงใหม่"
นมัสการ วัดเจ็ดยอด (ปีมะเส็ง งูเล็ก) หรือวัดโพธารามมหาวิหาร ได้ชื่อว่ามีเจดีย์รูปทรงแปลกที่สุด
คือมียอดตั้งอยู่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมถึงเจ็ดยอด เหมือนมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ที่ประเทศอินเดีย
จัดเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ตามอัธยาศัย ขอแนะนำ ข้าวซอยเสมอใจ หรือ อาหารเหนือที่เฮือนเพ็ญ
13.00 น. จากนั้นไปนมัสการ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ปีมะโรง) วัดสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเป็นที่ประดิษฐาน
ของพระพุทธสิหิงค์ วัดนี้มีความงดงามของสถาปัตยกรรมแบบล้านนาอันสูงค่ายิ่ง
เช่น วิหารลายคำ จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ หอไตร วิหารหลวง
นมัสการวัดเกตุการาม (ปีจอ) ซึ่งเป็นวัดที่สวยมาก มีพิพิธภัณ์แสดงศิลปะและสถาปัตยกรรมของล้านนา
นมัสการวัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดที่มีเจดีย์ใหญ่ที่สุด มีศิลปะและสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของล้านนา
นมัสการวัดชัยมงคล วัดนี้เป็นศิลปะแบบพม่า-มอญ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง
และพระเจ้าเก้าตื้อจำลอง (สามารถปล่อยสัตว์น้ำได้ที่วัดนี้)
นมัสการวัดศรีสุพรรณ ชมอุโสถเงินวิจิตรงดงามเป็นอย่างมาก
ช่วงเย็น จากนั้นแวะซื้อของฝากที่ตลาดวนัสนันท์ และส่งท่านที่สนามบินเชียงใหม่ หรือที่อื่นๆในตัวเมืองเชียงใหม่
รอยพระพุทธบาท 5 แห่งที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ประกอบด้วย
1. สุวัณณมาลิก (ลังกา)
2. เขาสัจจพันธ์คีรี (สระบุรี ประเทศไทย)
3. เขาสุมนกูฏ (ลังกา)
4. แม่น้ำนัมมทานที (อินเดียหรือพม่า)
5. โยนกปุระ (ดินแดนทางภาคเหนือของไทย)ที่เคยเป็นอาณาจักรล้านนา ที่นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีทั่วโลกต่างสืบเสาะแสวงหากันมาเนิ่นนานก็ได้ปรากฏหลักฐานทั้งทางฝ่ายวัตถุและบุคคล ดังเช่น คำบอกเล่าของพระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี ก็ได้เคยเล่าให้ผู้เขียน(เนาว์ นรญาณ) ฟังโดยตรงเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2538-2539 ว่า “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เราเคยได้ธุดงค์ไปกราบมาแล้ว...”
“สมัยก่อน ตอนที่เรายังธุดงค์อยู่ในเขตภาคเหนือนั้นเราเคยได้ยินเขาเล่าลือกันว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่โยนกนคร(ปุระ)เราก็ธุดงค์ไปหาอยู่ สมัยที่เราไปนั้น เป็นราวพ.ศ. 2490 ถนนหนทางยังไม่มีเราต้องธุดงค์ข้ามเขาไปหลายลูก จึงไปถึง พบเป็น 4 รอยพระบาท...”
และที่สำคัญที่สุด ก็คือการที่หลวงพ่ออุตตมะได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า
“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงเหยียบไว้เองจริงๆนะ..!!!!!” และ “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ทางเมืองนอก(พม่า)เขาก็รู้ และเสาะหาอยู่เหมือนกันคิดกันไปว่าน่าจะอยู่ในเขตพม่า แต่จริงๆแล้ว ก็มาอยู่ที่เมืองไทยเรานี่แหละ....”
นอกจากนี้ หลักฐานในทางวัตถุที่ยืนยันว่า รอยพระพุทธบาทแห่ง “โยนกปุระ” แท้จริงแล้วก็คือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ก็คือ แผ่นศิลาจารึก ที่ติดอยู่บนพื้นผนังกำแพงมุขหลังพระวิหาร พระนาคปรก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. อันสถาปนามาแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยในศิลาจารึกนั้น ได้บรรยายถึงรอยพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่โยนกปุระนั้น ในศิลาจารึกแผ่นนี้ ได้ขยายความระบุถึงที่ประดิษฐานไว้อย่างชัดเจนยิ่งว่า “รอยพระพุทธบาท อันพระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานไว้บนยอดเขา “รังรุ้ง” แดนโยนกประเทศ คือเมืองเชียงใหม่”
ยิ่งไปกว่านี้ หลักฐานในทางวัตถุที่สำคัญอย่างยิ่งยวดอีกประการก็คือ “คำให้การของขุนหลวงหาวัด” อันว่าด้วยเรื่องราวต่างๆของกรุงศรีอยุธยา ที่พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าให้อาลักษณ์บันทึกรับสั่งของเจ้าฟ้าอุทมพร(ขุนหลวงหาวัด) ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2310 ไว้อย่างละเอียด โดยตอนหนึ่งได้กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จพระราชดำเนินปทรง นมัสการพระพุทธบาทสี่รอย (สมัยโบราณเรียก “พระพุทธบาทรังรุ้ง) ไว้อย่างชัดเจนว่า
“....สมัยสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปรบที่เมืองหางพระองค์ทรงทราบว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดเขา เรียก “เขารังรุ้ง” จึงได้เสด็จขึ้นไปนมัสการ ทรงเปลื้องเครื่องทรง ทั้งสังวาลและภูษาแล้วทรงถวายไว้ในรอยพระบาท และทำสักการบูชาด้วยธง ธูปเทียน ข้าวตอกดอกไม้มีเครื่องทั้งปวงเป็นอันมาก แล้วจึงทำการพิธีสมโภชอยู่เจ็ดราตรี”
ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้เอง “พระพุทธบาทสี่รอย” ที่มีหลายชื่อหลายนาม ไม่ว่าจะเป็น“พระพุทธบาทรังรุ้ง” หรือ “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ” จึงเป็นรอยพระพุทธบาทรอยแรกที่คนไทยได้เคยค้นพบและกราบนมัสการ สมดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยได้ทรงรับรองไว้ครั้งหนึ่งว่า
“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย" ด้วยเหตุนี้ แม้พระเดชพระคุณพระญาณสิทธาจารย์ หรือหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร พระอริยเจ้าผู้ทรงคุณธรรมและญาณสมาบัติชั้นสูงสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ แห่งสำนักถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ก็เคยธุดงค์ไปกราบพระพุทธบาทสี่รอย และนำมาเทศนาบอกเล่ารับรอง ภายหลังจากตรวจการทั้งปวงด้วยญาณวิถีแห่งพระอรหันตเจ้าที่ไม่มีกิเลสาสวะใด มากีดกันปิดกั้นได้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์เป็นหลายครั้ง จนพระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นและแพร่หลายกันโดยทั่วไปในเวลาต่อมาว่า
“ในเขตเชียงใหม่นี้ ยังมีพระบาทสี่รอย อยู่ในเขตอำเภอแม่ริม แต่ว่าลึกเข้าไปในภูเขาหลวงปู่ผู้เทศน์ไปดูมาแล้ว ไปกราบไปไหว้ มันเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขึ้นไปอยู่ข้างริมแม่น้ำ.....พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ได้มาตรัสรู้ในโลก ท่านก็มาเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ในยอดก้อนหินนั้น ยาวขนาด 12 ศอก...ขนาดนั้น.... พระพุทธเจ้ากกุสันโธก็โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย นำพระสาวก อุบาสก อุบาสิกาไปสู่นิพพาน
เมื่อหมดศาสนาพระพุทธเจ้ากกุสันโธแล้ว ศาสนาพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ก็มาตรัสมาสอนรื้อขนสัตว์ไปอีก ก่อนนิพพาน ท่านก็มาเหยียบไว้ที่พระบาทแม่ริมนี้ เป็นรอยที่สอง (ขนาด) ลดลงมา คือคนสมัยนั้นก็เรียกว่า มันกำลังทดลง ไม่ได้ใหญ่ขึ้น(ตัวเล็กลง)
เมื่อพระพุทธเจ้าโกนาคมโนนิพพานไปพร้อมด้วยสาวกแล้วศาสนธรรมคำสอนท่าน หมดไป ก็ มาถึงพระสั มมาสัมพุทธเจ้ากัสสโปมาตรัสรู้ ท่านก็มาเหยียบไว้ ได้สามรอยละ....
เมื่อศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโปหมดไปแล้ว มาถึงศาสนาพระพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันนี้ ให้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าโคตมโคตร พระพุทธเจ้าโคดมมาตรัสรู้ ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ก็มาเหยียบรอยพระบาทไว้ในก้อนหินก้อนเดียวกัน จึงให้ชื่อว่า “พระพุทธบาทสี่รอย”.......
คือในโลกนี้แผ่นดินนี้ ยังเหลืออยู่อีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่เราทุกคนได้ยินได้ฟังกันมาจนชินหูแล้วก็มี ว่ายังมี
พระศรีอาริยเมตไตรโยโพธิสัตว์ จะมาตรัสรู้เป็นองค์สุดท้ายเมื่อตรัสรู้แล้ว โปรดเวไนยสัตว์แล้ว ก็มาเหยียบไว้อีกเหยียบทีนี้น่ะดูเหมือนจะใหญ่ คือว่าเหยียบเต็มเลย ก็คล้ายๆกันกับว่า เหยียบปิดเลยละลายหินก้อนนั้นเพราะว่าเมื่อหมดศาสนาพระศรีอาริย์แล้ว.....ก็ไม่มีศาสดาใดที่จะมาตรัสรู้อีกเรียกว่า แผ่นดินที่เราเกิดนี้ นับว่าเป็นแผ่นดินที่ร่ำรวยที่สุด ....แผ่นดินนี้เรียกว่า “ภัทรกัปมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ห้าพระองค์....”
หรือแม้แต่ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระอริยเจ้าผู้ทรงฤทธิ์อย่างยวดยิ่งแห่งวัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม เมื่อครั้งยังเที่ยวธุดงค์อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยเช่นกันว่า “พระพุทธบาทสี่รอยนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งมหาภัทรกัป ที่มีความสำคัญที่สุดในจักรวาล...”
ด้วยเหตุดังกล่าวมาทั้งหมดนี้เอง จึงเป็นที่สมมุตยุติสรุปการทั้งปวงได้อย่างสิ้นสงสัยอย่างสิ้นเชิงแล้วว่า อัน “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ” หรือ “พระพุทธบาทรังรุ้ง” และหรือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ดังที่พรรณนามานี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่แท้จริง และมีความสำคัญอย่างที่สุด อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อนตลอดระยะเวลา 4 อสงไขย 100,000 มหากัปถึงเพียงไหน..???
เพราะที่สุด พระคุณเจ้า หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่พระผู้ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานแห่งยุคก็ยังได้เคยพยากรณ์ไว้ เมื่อครั้งที่หลวงปู่สิมยังเป็นสามเณรอยู่ว่า “เณรสิมนี้ ยังเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ ถ้าเบ่งบานเมื่อได้ จะหอมกว่าหมู่” เมื่อได้เล็งญาณพิจารณาการทั้งสิ้นแล้ว จึงได้กล่าวสรุปปิดท้ายไว้ก่อนละสังขารไม่นานว่า
“พระบาทสี่รอยนี้เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบรอยพระบาทไว้เองจริงๆ....”
“รอยพระบาทที่จังหวัดสระบุรีเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคดมเพียงพระองค์เดียว แต่ที่พระบาทสี่รอยนั้นเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าถึง 4พระองค์ ไหว้พระบาทสี่รอยครั้งหนึ่งก็เท่ากับได้ไหว้พระพุทธเจ้ารวดเดียวถึง 4พระองค์นั่นแหละ....”
นมัสการ วัดพระธาตุดอยสุเทพ (ปีมะแม) และบรมธาตุดอยสุเทพเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่
และล้านนาไทยมาเป็นเวลานาน จนมีคำกล่าวว่า "หากมาเชียงใหม่ แล้ว ไม่ได้ขึ้นดอยสุเทพ ก็เหมือนกับว่ามาไม่ถึงเชียงใหม่"
นมัสการ วัดเจ็ดยอด (ปีมะเส็ง งูเล็ก) หรือวัดโพธารามมหาวิหาร ได้ชื่อว่ามีเจดีย์รูปทรงแปลกที่สุด
คือมียอดตั้งอยู่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมถึงเจ็ดยอด เหมือนมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ที่ประเทศอินเดีย
จัดเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ตามอัธยาศัย ขอแนะนำ ข้าวซอยเสมอใจ หรือ อาหารเหนือที่เฮือนเพ็ญ
13.00 น. จากนั้นไปนมัสการ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ปีมะโรง) วัดสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเป็นที่ประดิษฐาน
ของพระพุทธสิหิงค์ วัดนี้มีความงดงามของสถาปัตยกรรมแบบล้านนาอันสูงค่ายิ่ง
เช่น วิหารลายคำ จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ หอไตร วิหารหลวง
นมัสการวัดเกตุการาม (ปีจอ) ซึ่งเป็นวัดที่สวยมาก มีพิพิธภัณ์แสดงศิลปะและสถาปัตยกรรมของล้านนา
นมัสการวัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดที่มีเจดีย์ใหญ่ที่สุด มีศิลปะและสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของล้านนา
นมัสการวัดชัยมงคล วัดนี้เป็นศิลปะแบบพม่า-มอญ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง
และพระเจ้าเก้าตื้อจำลอง (สามารถปล่อยสัตว์น้ำได้ที่วัดนี้)
นมัสการวัดศรีสุพรรณ ชมอุโสถเงินวิจิตรงดงามเป็นอย่างมาก
ช่วงเย็น จากนั้นแวะซื้อของฝากที่ตลาดวนัสนันท์ และส่งท่านที่สนามบินเชียงใหม่ หรือที่อื่นๆในตัวเมืองเชียงใหม่
รอยพระพุทธบาท 5 แห่งที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ประกอบด้วย
1. สุวัณณมาลิก (ลังกา)
2. เขาสัจจพันธ์คีรี (สระบุรี ประเทศไทย)
3. เขาสุมนกูฏ (ลังกา)
4. แม่น้ำนัมมทานที (อินเดียหรือพม่า)
5. โยนกปุระ (ดินแดนทางภาคเหนือของไทย)ที่เคยเป็นอาณาจักรล้านนา ที่นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีทั่วโลกต่างสืบเสาะแสวงหากันมาเนิ่นนานก็ได้ปรากฏหลักฐานทั้งทางฝ่ายวัตถุและบุคคล ดังเช่น คำบอกเล่าของพระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี ก็ได้เคยเล่าให้ผู้เขียน(เนาว์ นรญาณ) ฟังโดยตรงเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2538-2539 ว่า “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เราเคยได้ธุดงค์ไปกราบมาแล้ว...”
“สมัยก่อน ตอนที่เรายังธุดงค์อยู่ในเขตภาคเหนือนั้นเราเคยได้ยินเขาเล่าลือกันว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่โยนกนคร(ปุระ)เราก็ธุดงค์ไปหาอยู่ สมัยที่เราไปนั้น เป็นราวพ.ศ. 2490 ถนนหนทางยังไม่มีเราต้องธุดงค์ข้ามเขาไปหลายลูก จึงไปถึง พบเป็น 4 รอยพระบาท...”
และที่สำคัญที่สุด ก็คือการที่หลวงพ่ออุตตมะได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า
“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงเหยียบไว้เองจริงๆนะ..!!!!!” และ “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ทางเมืองนอก(พม่า)เขาก็รู้ และเสาะหาอยู่เหมือนกันคิดกันไปว่าน่าจะอยู่ในเขตพม่า แต่จริงๆแล้ว ก็มาอยู่ที่เมืองไทยเรานี่แหละ....”
นอกจากนี้ หลักฐานในทางวัตถุที่ยืนยันว่า รอยพระพุทธบาทแห่ง “โยนกปุระ” แท้จริงแล้วก็คือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ก็คือ แผ่นศิลาจารึก ที่ติดอยู่บนพื้นผนังกำแพงมุขหลังพระวิหาร พระนาคปรก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. อันสถาปนามาแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยในศิลาจารึกนั้น ได้บรรยายถึงรอยพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่โยนกปุระนั้น ในศิลาจารึกแผ่นนี้ ได้ขยายความระบุถึงที่ประดิษฐานไว้อย่างชัดเจนยิ่งว่า “รอยพระพุทธบาท อันพระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานไว้บนยอดเขา “รังรุ้ง” แดนโยนกประเทศ คือเมืองเชียงใหม่”
ยิ่งไปกว่านี้ หลักฐานในทางวัตถุที่สำคัญอย่างยิ่งยวดอีกประการก็คือ “คำให้การของขุนหลวงหาวัด” อันว่าด้วยเรื่องราวต่างๆของกรุงศรีอยุธยา ที่พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าให้อาลักษณ์บันทึกรับสั่งของเจ้าฟ้าอุทมพร(ขุนหลวงหาวัด) ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2310 ไว้อย่างละเอียด โดยตอนหนึ่งได้กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จพระราชดำเนินปทรง นมัสการพระพุทธบาทสี่รอย (สมัยโบราณเรียก “พระพุทธบาทรังรุ้ง) ไว้อย่างชัดเจนว่า
“....สมัยสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปรบที่เมืองหางพระองค์ทรงทราบว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดเขา เรียก “เขารังรุ้ง” จึงได้เสด็จขึ้นไปนมัสการ ทรงเปลื้องเครื่องทรง ทั้งสังวาลและภูษาแล้วทรงถวายไว้ในรอยพระบาท และทำสักการบูชาด้วยธง ธูปเทียน ข้าวตอกดอกไม้มีเครื่องทั้งปวงเป็นอันมาก แล้วจึงทำการพิธีสมโภชอยู่เจ็ดราตรี”
ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้เอง “พระพุทธบาทสี่รอย” ที่มีหลายชื่อหลายนาม ไม่ว่าจะเป็น“พระพุทธบาทรังรุ้ง” หรือ “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ” จึงเป็นรอยพระพุทธบาทรอยแรกที่คนไทยได้เคยค้นพบและกราบนมัสการ สมดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยได้ทรงรับรองไว้ครั้งหนึ่งว่า
“พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย" ด้วยเหตุนี้ แม้พระเดชพระคุณพระญาณสิทธาจารย์ หรือหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร พระอริยเจ้าผู้ทรงคุณธรรมและญาณสมาบัติชั้นสูงสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ แห่งสำนักถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ก็เคยธุดงค์ไปกราบพระพุทธบาทสี่รอย และนำมาเทศนาบอกเล่ารับรอง ภายหลังจากตรวจการทั้งปวงด้วยญาณวิถีแห่งพระอรหันตเจ้าที่ไม่มีกิเลสาสวะใด มากีดกันปิดกั้นได้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์เป็นหลายครั้ง จนพระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นและแพร่หลายกันโดยทั่วไปในเวลาต่อมาว่า
“ในเขตเชียงใหม่นี้ ยังมีพระบาทสี่รอย อยู่ในเขตอำเภอแม่ริม แต่ว่าลึกเข้าไปในภูเขาหลวงปู่ผู้เทศน์ไปดูมาแล้ว ไปกราบไปไหว้ มันเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขึ้นไปอยู่ข้างริมแม่น้ำ.....พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ได้มาตรัสรู้ในโลก ท่านก็มาเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ในยอดก้อนหินนั้น ยาวขนาด 12 ศอก...ขนาดนั้น.... พระพุทธเจ้ากกุสันโธก็โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย นำพระสาวก อุบาสก อุบาสิกาไปสู่นิพพาน
เมื่อหมดศาสนาพระพุทธเจ้ากกุสันโธแล้ว ศาสนาพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ก็มาตรัสมาสอนรื้อขนสัตว์ไปอีก ก่อนนิพพาน ท่านก็มาเหยียบไว้ที่พระบาทแม่ริมนี้ เป็นรอยที่สอง (ขนาด) ลดลงมา คือคนสมัยนั้นก็เรียกว่า มันกำลังทดลง ไม่ได้ใหญ่ขึ้น(ตัวเล็กลง)
เมื่อพระพุทธเจ้าโกนาคมโนนิพพานไปพร้อมด้วยสาวกแล้วศาสนธรรมคำสอนท่าน หมดไป ก็ มาถึงพระสั มมาสัมพุทธเจ้ากัสสโปมาตรัสรู้ ท่านก็มาเหยียบไว้ ได้สามรอยละ....
เมื่อศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโปหมดไปแล้ว มาถึงศาสนาพระพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันนี้ ให้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าโคตมโคตร พระพุทธเจ้าโคดมมาตรัสรู้ ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ก็มาเหยียบรอยพระบาทไว้ในก้อนหินก้อนเดียวกัน จึงให้ชื่อว่า “พระพุทธบาทสี่รอย”.......
คือในโลกนี้แผ่นดินนี้ ยังเหลืออยู่อีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่เราทุกคนได้ยินได้ฟังกันมาจนชินหูแล้วก็มี ว่ายังมี
พระศรีอาริยเมตไตรโยโพธิสัตว์ จะมาตรัสรู้เป็นองค์สุดท้ายเมื่อตรัสรู้แล้ว โปรดเวไนยสัตว์แล้ว ก็มาเหยียบไว้อีกเหยียบทีนี้น่ะดูเหมือนจะใหญ่ คือว่าเหยียบเต็มเลย ก็คล้ายๆกันกับว่า เหยียบปิดเลยละลายหินก้อนนั้นเพราะว่าเมื่อหมดศาสนาพระศรีอาริย์แล้ว.....ก็ไม่มีศาสดาใดที่จะมาตรัสรู้อีกเรียกว่า แผ่นดินที่เราเกิดนี้ นับว่าเป็นแผ่นดินที่ร่ำรวยที่สุด ....แผ่นดินนี้เรียกว่า “ภัทรกัปมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ห้าพระองค์....”
หรือแม้แต่ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระอริยเจ้าผู้ทรงฤทธิ์อย่างยวดยิ่งแห่งวัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม เมื่อครั้งยังเที่ยวธุดงค์อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยเช่นกันว่า “พระพุทธบาทสี่รอยนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งมหาภัทรกัป ที่มีความสำคัญที่สุดในจักรวาล...”
ด้วยเหตุดังกล่าวมาทั้งหมดนี้เอง จึงเป็นที่สมมุตยุติสรุปการทั้งปวงได้อย่างสิ้นสงสัยอย่างสิ้นเชิงแล้วว่า อัน “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ” หรือ “พระพุทธบาทรังรุ้ง” และหรือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ดังที่พรรณนามานี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่แท้จริง และมีความสำคัญอย่างที่สุด อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อนตลอดระยะเวลา 4 อสงไขย 100,000 มหากัปถึงเพียงไหน..???
เพราะที่สุด พระคุณเจ้า หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่พระผู้ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานแห่งยุคก็ยังได้เคยพยากรณ์ไว้ เมื่อครั้งที่หลวงปู่สิมยังเป็นสามเณรอยู่ว่า “เณรสิมนี้ ยังเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ ถ้าเบ่งบานเมื่อได้ จะหอมกว่าหมู่” เมื่อได้เล็งญาณพิจารณาการทั้งสิ้นแล้ว จึงได้กล่าวสรุปปิดท้ายไว้ก่อนละสังขารไม่นานว่า
“พระบาทสี่รอยนี้เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบรอยพระบาทไว้เองจริงๆ....”
“รอยพระบาทที่จังหวัดสระบุรีเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคดมเพียงพระองค์เดียว แต่ที่พระบาทสี่รอยนั้นเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าถึง 4พระองค์ ไหว้พระบาทสี่รอยครั้งหนึ่งก็เท่ากับได้ไหว้พระพุทธเจ้ารวดเดียวถึง 4พระองค์นั่นแหละ....”